เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่นายปรีดา ลิ้มนนทกุล ประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการ ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิและปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในด้านการจ้างงานคนพิการ ว่า กระทรวงแรงงานมีหน้าที่หลักในการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 โดยสถานประกอบการที่มีคนงาน 100 คน จะต้องจ้างคนพิการ 1 คน หากเกิน 50 คนต้องรับเพิ่มอีก 1 คน โดยในปี 2561 คนพิการที่มีสิทธิ์ทำงานในสถานประกอบการจำนวน 64,576 คน ในจำนวนนี้มีสถานประกอบการรับคนพิการเข้าทำงานแล้ว 36,315 คน โดยข้อมูลตั้งแต่เดือน ต.ค.60 – ส.ค.61 มีคนพิการขึ้นทะเบียนหางานของกรมการจัดหางานแล้ว 1,979 คน ได้รับการบรรจุงานแล้ว 1,565 คน การส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามมาตรา 34 นายจ้าง/สถานประกอบการ ที่มีหน้าที่ต้องจ้างคนพิการ แต่ไม่จ้างหรือจ้างไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด นายจ้าง/สถานประกอบการต้องส่งเงินเข้าโดยตรงที่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งในปี 2561 มีนายจ้าง/สถานประกอบการส่งเงินเข้ากองทุนฯ จำนวน 14,623 คน คิดเป็น 22.49 % 109,500 บาท ต่อ 1 คน/ปี)
            พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานยังได้ส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 หากสถานประกอบการที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุนจะต้องสนับสนุนให้ผู้พิการมีงานทำ โดยจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ โดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ
             พล.ต.อ.อดุลย์ฯ ได้มอบหมายให้นายวิวัฒน์ ตังหงส์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อตรวจสอบว่ากรณีดังกล่าวมีระบบการเชื่อมโยงอย่างไร และมีความโปร่งใสหรือไม่ 

ทิ้งคำตอบไว้

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.